You are here:
- Home
- Page
เครื่องเลี้ยงตัวอ่อน หรือ ตู้เลี้ยงตัวอ่อน (Embryo Incubator)
ตู้เลี้ยงตัวอ่อนมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ?
ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ตู้เลี้ยงตัวอ่อน คือเครื่องมือพิเศษที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประส่งเสริมในด้านเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ (ART) เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อนที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า ระบบเลี้ยงตัวอ่อน หรือตู้เลี้ยงตัวอ่อน
ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว อสุจิ และไข่ที่ถูกนำออกมาจากรังไข่ของฝ่ายหญิง จะทำการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ โดยตัวอ่อนที่ทำการปฏิสนธิแล้วต้องการสภาพแวดล้อมที่คงที่และเหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโต ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryologist) จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในรังไข่ ซึ่งตู้เลี้ยงตัวอ่อน โดยส่วนใหญ่จะได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเลียนแบบสภาพแวดล้อมของมดลูกในเพศหญิง ด้วยการควบคุมสภาพอากาศ ความชื้น ให้มีความเหมาะสมและใกล้เคียงมากที่สุด
ตู้เลี้ยงตัวอ่อนจะติดตั้งระบบควบคุมแก๊สและอุณหภูมิที่แม่นยำ เพื่อให้สภาวะต่างๆ ภายในเครื่องคงที่และสม่ำเสมอ มีการติดตั้งระบบการแจ้งเตือนและระบบตรวจสอบ เพื่อให้ตัวอ่อนได้พัฒนาในสภาวะที่ดีที่สุดในระหว่างทำการเพาะเลี้ยง
ตู้เลี้ยงตัวอ่อนในปัจจุบันมักมาพร้อมกับเทคโนโลยีแสดงภาพแบบ Time-Lapse เพื่อสะดวกต่อการติดตามของนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryologist) ในการพัฒนาของตัวอ่อน ที่ปราศจากการถูกรบกวนที่ไม่จำเป็น
ตู้เลี้ยงตัวอ่อน มีประโยชน์ต่อกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) อย่างไร?
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด
ตู้เลี้ยงตัวอ่อนจะควบคุมสภาวะต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับภายในร่างกายของผู้หญิง หรือมดลูก ตัวเครื่องจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาของตัวอ่อนด้วยการรักษาระดับของอุณหภูมิ ความชื้น ส่วนประกอบแก๊ส ให้อยู่ในค่าที่คงที่และถูกต้อง การควบคุมสภาพแวดล้อมของตู้เลี้ยงตัวอ่อนนี้ จะช่วยเพิ่มอัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนได้ต่อไป
ความสม่ำเสมอ
ตลอดการเลี้ยงตัวอ่อน ตู้เลี้ยงตัวอ่อนจะคงสภาพแวดล้อมที่สม่ำเสมอ โดยจะเพิ่มอัตราการอยู่รอดของตัวอ่อน และลดผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนจากการเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนของสภาพแวดล้อมในการเพาะเลี้ยง ตู้เลี้ยงจะรักษาความสม่ำเสมอของอุณหภูมิ, ความเข้มข้นของแก๊ส และปัจจัยสำคัญอื่นๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาของตัวอ่อนมีความสม่ำเสมอ และลดความเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะพัฒนาผิดปกติ
ปกป้องตัวอ่อนจากปัจจัยภายนอก
ตู้เลี้ยงตัวอ่อน จะช่วยปกป้องตัวอ่อนจากปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลอันตรายต่อการพัฒนาของตัวอ่อน ทั้งความไม่คงที่ของอุณหภูมิ, ระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH), คุณภาพของอากาศ, และสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ด้วยการเลี้ยงตัวอ่อนในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมได้ ตู้เลี้ยงตัวอ่อนจะช่วยลดโอกาสการได้รับผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ตัวอ่อนจากปัจจัยภายนอกได้
การประเมินและการติดตามการพัฒนาของตัวอ่อน
ตู้เลี้ยงตัวอ่อน ที่มีประสิทธิภาพสูงส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีแสดงภาพตัวอ่อนแบบ Time-Lapse เพื่อให้การติดตามและการประเมินการพัฒนาของตัวอ่อนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องรบกวนตัวอ่อน ฟังก์ชันการทำงานนี้จะช่วยส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินคุณภาพตัวอ่อน และการเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด เพื่อใช้ในกระบวนการย้ายตัวอ่อน พร้อมทั้งเป็นประโยชน์ต่อคนไข้และแพทย์ในการตัดสินใจ ตลอดทั้งกระบวนการการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ขยายระยะเวลาการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน
ตู้เลี้ยงตัวอ่อน สามารถช่วยขยายระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้หากมีความจำเป็น ในบางกรณี ตัวอ่อนอาจต้องการระยะเวลาในการเลี้ยงที่ยาวนานขึ้น เพื่อตัวอ่อนจะสามารถพัฒนาต่อไปได้จนถึงระยะที่ต้องการก่อนทำการย้ายตัวอ่อน โดยสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมจะช่วยยืดระยะเวลาการเพาะเลี้ยงมากขึ้นได้ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพที่สุดและช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของกระบวนการอีกด้วย
อัตราความสำเร็จที่มากขึ้น
ด้วยการทำงานของเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในกระบวนการเด็กหลอดแก้ว (IVF) การควบคุมที่มีความแม่นยำ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ตู้เลี้ยงตัวอ่อนจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของตัวอ่อน และเป็นส่วนช่วยเหลือในการเลี้ยงตัวอ่อนที่แข็งแรง เพื่อใช้ในกระบวนการย้ายตัวอ่อน ตู้เลี้ยงตัวอ่อนสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จได้ทั้งในด้านของการปลูกถ่ายตัวอ่อนและการตั้งครรภ์
โดยภาพรวมแล้ว ตู้เลี้ยงตัวอ่อนมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพและสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำเพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของตัวอ่อนในระหว่างกระบวนการเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มอัตราการอยู่รอดของตัวอ่อน การขยายระยะเวลาของตัวอ่อนในกรณีที่มีความจำเป็น เพิ่มอัตราความสำเร็จ และช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้มากยิ่งขึ้น
Embryoscope Plus
เครื่องเลี้ยงตัวอ่อน Geri®
Testimonial ICSI
ความประทับใจ จากคุณแม่คนใหม่ ที่ปล่อยมานานกว่า 5 ปี
ปัญหาเรื่องฟองไข่เหลือน้อย ก็สำเร็จได้
พบปัญหาช็อกโกแลตซีสต์ จึงตัดสินใจรักษาด้วยวิธีการ ICSI
Success Case
FAQ
Q: การเลี้ยงตัวอ่อน (embryo culture) คืออะไร
A: การเลี้ยงตัวอ่อน (embryo culture) คือ เป็นเทคนิคเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ หรือ ตู้เลี้ยงตัวอ่อน จนถึงระยะวันที่ 5 หรือ 6 หลังการปฏิสนธิ (Blastocyst Culture) ก่อนจะนำตัวอ่อนไปฝังในมดลูก จากการศึกษาพบว่าอัตราความสำเร็จของการฝังตัวของตัวอ่อนที่เลี้ยงจนถึงระยะ Blastocyst จะสูงกว่าอัตราความสำเร็จของการฝังตัวอ่อนที่มีอายุแค่วันที่ 3